Untitled Document
 

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน


ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งอรุณ

1.ที่ตั้งและอาณาเขต
   ตำบลทุ่งอรุณเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทิศใต้ของอำเภอ และอยู่ห่างจากที่ทำการอำเภอโชคชัยประมาณ 15 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 45 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลกระโทกและตำบลท่าเยี่ยม อำเภอโชคชัย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลท่าลาดขาว อำเภอโชคชัยและตำบลครบุรี อำเภอครบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองไม้ไผ่ อำเภอหนองบุญมากและตำบลแชะ อำเภอครบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลอรพิมพ์ และตำบลครบุรี อำเภอครบุรี

2. พื้นที่

ตำบลทุ่งอรุณมีเนื้อที่ประมาณ 69 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43,125 ไร่ แบ่งเป็น
- พื้นที่อยู่อาศัย 3,550 ไร่
- พื้นที่ทำนา 16,900 ไร่
- พื้นที่ทำไร่ 18,500 ไร่
- พืชสวน 1,250 ไร่
- พื้นที่อื่น ๆ 2,925 ไร่

3. ภูมิประเทศ
ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งอรุณ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ประชาชนอยู่อาศัยประมาณ 10 % เป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร 80 % และมีพื้นที่ส่วนอื่น 10 %
     3.1 แผนที่ตำบลทุ่งอรุณ


4. จำนวนหมู่บ้าน และการปกครอง
ตำบลทุ่งอรุณ ประกอบด้วยหมู่บ้าน ทั้งหมด 17 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านปอพราน
หมู่ที่ 2 บ้านโกรกน้ำใส
หมู่ที่ 3 บ้านหนองปรึก
หมู่ที่ 4 บ้านวังตะแบก
หมูที่ 5 บ้านสะแกกอง
หมู่ที่ 6 บ้านโค้งกระโดน
หมู่ที่ 7 บ้านดอนเกตุ
หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งอรุณ
หมู่ที่ 9 บ้านโนนปอแดง
หมู่ที่ 10 บ้านหนองทองคำ
หมู่ที่ 11 บ้านดะแลง
หมู่ที่ 12 บ้านใหม่ดอนเกตุ
หมู่ที่ 13 บ้านหัวสะพาน
หมู่ที่ 14 บ้านหนองโพธิ์
หมู่ที่ 15 บ้านใหม่หนองปรึก
หมู่ที่ 16 บ้านใหม่หัวสะพาน
หมู่ที่ 17 บ้านใหม่เกตุอรุณทรัพย์

5. ประชากร
    ประชากรทั้งสิ้น 8,036 คน แยกเป็นชาย 3,904 คน หญิง 4,132 คน มีความหนา
แน่นเฉลี่ย 116.46 คน / ตารางกิโลเมตร
สภาพการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ของประชากรจะอาศัยอยู่รวมกันตามลักษณะของสังคมไทยสมัยก่อน อยู่อย่างเรียบง่าย รักความสงบ จะมีบางส่วนเริ่มแยกครอบครัวและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามยุคสมัยปัจจุบัน การจัดการในครัวเรือนขึ้นอยู่กับผู้นำครอบครัวเป็นหลัก ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

   1.ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มพี่น้อง เป็นกลุ่มใหญ่
   2.ตั้งบ้านเรือนตามพื้นที่การเกษตรของตนเอง
ขนบธรรมเนียมประเพณี ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย เช่น การบวชนาคหมู่ การแต่งงาน งานศพ และประเพณีตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง การทำบุญสารทต่าง ๆ และพิธีสำคัญทางศาสนา
สังคมชุมชน
ชุมชนพื้นบ้านดั้งเดิม เป็นระบบเครือญาติพี่น้อง มีความผูกพันกันอย่างใกล้ชิด มีการช่วยเหลือเกื้อกูล
มีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนกัน นับถืออาวุโส ประกอบอาชีพคล้ายกัน มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากร จำแนกตามหมู่บ้าน

หมู่บ้าน

ประชากร

จำนวน
ครัวเรือน

ชาย

หญิง

รวม

หมู่ที่  1   บ้านปอพราน
หมู่ที่  2   บ้านโกรกน้ำใส
หมู่ที่  3   บ้านหนองปรึก
หมู่ที่  4   บ้านวังตะแบก
หมูที่  5   บ้านสะแกกอง
หมู่ที่  6   บ้านโค้งกระโดน
หมู่ที่  7   บ้านดอนเกตุ
หมู่ที่  8   บ้านทุ่งอรุณ
หมู่ที่  9   บ้านโนนปอแดง
หมู่ที่  10  บ้านหนองทองคำ
หมู่ที่  11  บ้านดะแลง
หมู่ที่  12  บ้านใหม่ดอนเกตุ
หมู่ที่  13  บ้านหัวสะพาน
หมู่ที่  14  บ้านหนองโพธิ์
หมู่ที่  15  บ้านใหม่หนองปรึก
หมู่ที่  16  บ้านใหม่หัวสะพาน
หมู่ที่  17  บ้านใหม่เกตุอรุณทรัพย์

248
289
246
127
184
153
369
262
481
78
219
288
171
149
278
207
159

276
278
288
138
200
154
346
297
484
78
224
319
201
140
321
225
163

524
575
541
266
387
308
712
560
560
155
443
604
375
285
599
434
326

205
168
181
86
108
91
220
152
289
49
136
216
175
88
190
139
107

รวม

3,904

4,132

8,036

2,600

แหล่งที่มาของข้อมูล : ฝ่ายทะเบียนอำเภอโชคชัย 

6. อาชีพ 

   6.1 การเกษตร
      การเกษตรประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร โดยปลูกข้าวปีละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และปลูกมัน สำประหลัง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
   6.2 การประมง
      การประมง ประชาชนส่วนใหญ่ทำการประมงเพื่อยังชีพ โดยทำการประมงตามวิถีชุมชนดั้งเดิมในลำน้ำมูล เป็นหลัก
   6.3 การปศุสัตว์
      การปศุสัตว์ ประชาชนทำการปศุสัตว์ เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว เพื่อเป็นอาชีพเสริม โดยใช้วิธีการเลี้ยงตามธรรมชาติหลังการเก็บเกี่ยวข้าวและผลผลิตทางการเกษตร
   6.4 การบริการ
      การบริการมีสถานบริการน้ำมันตั้งใหม่ปั้ม PT และการบริการด้านการแพทย์คือคลินิกตามหมู่บ้านต่างๆ
   6.5 การท่องเที่ยว
      การท่องเที่ยวในตำบลทุ่งอรุณ เป็นการท่องเที่ยวแบบวิถีชีวิตชุมชน ด้านศาสนา มีวัดหนองปรึกซึ่งเป็นวัดที่ประชาชนเคารพนับถือทั้งในตำบลและภายนอก มีศาลาทำด้วยไม้สักขนาดใหญ่ และห้องน้ำมีความสะอาดสวยงาม ส่วนด้านอาชีพการเกษตรจะมีสวนผัก ผลไม้ต่างๆ ของเกษตรกรตัวอย่าง เช่นสวนผักหวานบนเนื้อที่กว่า 3,000 ต้น ซึ่งเกษตรกรนำมาปลูกขยายพันธุ์และเปิดเป็นสถานที่สำหรับศึกษาดูงาน
   6.6 อุตสาหกรรม
      การอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลทุ่งอรุณ เป็นพื้นที่ที่มีโรงโม่หินจำนวน 2 แห่ง มีฟาร์มไก่ขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ภาษีสำหรับนำมาจัดทำบริการประชาชน    6.7 การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ ร้านค้าต่างๆภายในตำบลทุ่งอรุณ
      - ร้านชำ 58 แห่ง
      - ร้านชำจำหน่ายอาหารสด 9 แห่ง
      - ร้านอาหาร/แผงลอย 11 แห่ง
      - ตลาดนัด 2 แห่ง
      - กลุ่มอาชีพ 3 แห่ง
      - กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ 1 วิสาหกิจ
      - กลุ่มผู้ทำเกษตรผสมผสาน 3 กลุ่ม
   6.8 ประชากรตำบลทุ่งอรุณ มีการใช้แรงงานทั้งภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

7. การศึกษา
   ตำบลทุ่งอรุณ มีโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 6 โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กาบริหารส่วนตำบลทุ่งอรุณ 2 แห่ง และมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง โรงเรียนรัฐบาล

      1. โรงเรียนบ้านปอพราน เปิดการเรียนระดับ อนุบาลถึง ม.3 จำนวนนักเรียน 203 คน
      2. โรงเรียนบ้านโนนปอแดง เปิดการเรียนระดับ อนุบาลถึง ป.6 จำนวนนักเรียน 74 คน
      3. โรงเรียนบ้านหนองปรึก เปิดการเรียนระดับ อนุบาลถึง ม.3 จำนวนนักเรียน 71 คน
      4. โรงเรียนบ้านโค้งกระโดน เปิดการเรียนระดับ อนุบาลถึง ป.6 จำนวนนักเรียน 31 คน
      5. โรงเรียนบ้านดะแลง เปิดการเรียนระดับ อนุบาลถึง ป.6 จำนวนนักเรียน 39 คน
      6. โรงเรียนบ้านดอนเกตุ เปิดการเรียนระดับ อนุบาลถึง ป.6 จำนวนนักเรียน 130 คน

8. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
    8.1 การนับถือศาสนา
        ประชาชนในตําบลทุ่งอรุณ จะนับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนสถาน 12 แห่ง
        1. สำนักสงฆ์ปอพราน ตั้งอยู่ที่บ้านปอพราน หมู่ที่ 1
        2. วัดปอพราน ตั้งอยู่ที่บ้านปอพราน หมู่ที่ 1
        3. วัดทุ่งอรุณ ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งอรุณ หมู่ที่ 8
        4. วัดปอแดง ตั้งอยู่ที่บ้านโนนปอแดง หมู่ที่ 9
        5. วัดหนองปรึก ตั้งอยู่ที่บ้านหนองปรึก หมู่ที่ 3
        6. วัดหนองโพธิ์ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองโพธิ์ หมู่ที่ 14
        7. สำนักสงฆ์หนองปรึก ตั้งอยู่ที่บ้านหนองปรึก หมู่ที่ 3
        8. วัดบ้านวังตะแบก ตั้งอยู่ที่บ้านวังตะแบก หมู่ที่ 4
        9. สำนักสงฆ์สะแกกรอง ตั้งอยู่ที่บ้านสะแกกรอง หมู่ที่ 5
        10. วัดดอนเกตุ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนเกตุ หมู่ที่ 7
        11. วัดโค้งกระโดน ตั้งอยู่ที่บ้านโค้งกระโดน หมู่ที่ 6
        12. วัดบ้านดะแลง ตั้งอยู่ที่บ้านดะแลง หมู่ที่ 11

    8.2 ประเพณีและงานประจำปี
        - ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือนมกราคม
        - ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน
        - ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน
        - ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม พฤศจิกายน
ประเพณีทั่วไป มีการทำบุญกลางบ้านและมีการเข้าทรงศาลตาปู่ในช่วงการทำบุญกลางบ้าน มีความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์ คือ มีหมอดู มีการรำผีฟ้อน

    8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในตำบลทุ่งอรุณ ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำเครื่องจักรสานจากไม้ไผ่ เช่นสานไซ สานตะกร้า วิธีการทอเสื่อจากต้นกก ไว้ใช้ในครัวเรือน ภาษาถิ่น ภาษาที่ใช้ คือ พูดภาษาโคราช 95 %

9. สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมตำบล ๑ แห่ง
องค์กรที่สนับสนุนงานสาธารณสุข
อสม. ๑๓5 คน
ชมรม อสม. ระดับตำบล ๑ ชมรม
อสร. ๕๗ คน
ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ๕ ชมรม ๖๕๘ คน
อสว. ๑๑ รูป
ชมรมผู้สูงอายุ ๔ ชมรม
อพปม. ๑๒ คน
กสค. ๑,๕๐๘ คน

ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข
บุคลากรทางการแพทย์ ที่ให้บริการประจำ
   1. พยาบาลวิชาชีพ (เวชปฏิบัติ) จำนวน ๒ คน อัตรา ๑ : ๓,๐48
   2. นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน - คน
   3. เจ้าพนักงานสาธารณสุข จำนวน ๒ คน อัตรา ๑ : ๓,๐48
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
   ๑. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน ๑๓5 คน อัตรา ๑ : ๑๑.19 หลังคาเรือน
   ๒. มีชมรม อสม. ระดับตำบล จำนวน ๑ ชมรม
   ๓. ชมรม อสม. ระดับหมู่บ้าน จำนวน ๑3 แห่ง
   ๔. มีชมรมผู้สูงอายุ ระดับตำบล จำนวน ๑ ชมรม

10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตำบลทุ่งอรุณมีโครงการอยู่เวรยามรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้าน วัตถุประสงค์เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และสอดส่องดูแล
ให้ตำบลปลอดจากยาเสพติด และยังมีอาสาสมัครต่าง ๆ ดังนี้
    - สถานีตำรวจ ภูธรตำบลทุ่งอรุณ 1 แห่ง

11. การโทรคมนาคม
    การคมนาคมขนส่ง
      การคมนาคมตำบลทุ่งอรุณ มีถนนสายหลัก 224 เส้นทางจากอำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี ไปอำเภอโชคชัย เข้าตัวเมืองนครราชสีมา มีรถโดยสารประจำทางวิ่งจาก ตัวเมืองนครราชสีมา ปลายทางอำเภอละหารทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนภายในตำบลมีถนนตัดผ่าน ทุกหมู่บ้านทำให้สะดวกในการเดินทาง แต่จะมีเพียงบางพื้นที่เท่านั้นที่จะต้องปรับปรุงและแก้ไข ถนนส่วนใหญ่ในตำบลเป็นถนนลูกรัง และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กตามลำดับ


12. การไฟฟ้า
      ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ตำบลทุ่งอรุณ ระบบไฟฟ้าครอบคลุมร้อยละ 90 ยังเหลือพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ในบริเวณรอบนอกที่มีการขยายตัวของบ้านเรือน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีการขยายตัวไปอยู่ตามหัวไร่ ปลายนา ทำให้บางส่วนระบบไฟฟ้ายังไม่เข้าถึง


13. การประปา
      ระบบประปาในพื้นที่ตำบลทุ่งอรุณ โดยส่วนมากใช้ระบบประปาผิวดิน ที่ยังไม่ผ่านการบำบัดทำให้เป็นน้ำสะอาด ซึ่งน้ำที่ใช้ทำประปาจะมาจากน้ำจากระบบชลประทาน และสูบขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนโดยตรง ครอบคลุมประชาชน ร้อยละ 95


14. โทรศัพท์
      ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์ มีระบบการสื่อสารครอบคลุมพื้นที่ 100% มีสัญญาณเครือข่ายครบทุกเครือข่าย


15. ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
      ระบบไปรษณีย์มีการรับส่งอย่างทั่วถึงครบคลุมทั้งตำบล แต่ยังมีการขนส่งไปรษณีย์ที่ล่าช้าเนื่องจากเจ้าหน้าที่สำหรับส่งเอกสารยังมีไม่เพียงพอ เทียบกับการขยายตัวของหมู่บ้าน 3 แห่ง

16. บุคลากรที่เป็นพนักงานส่วนตำบล จำนวน 16 คน และพนักงานจ้าง จำนวน 11 คน รวม 27 คน โดยมี จ.ส.ต.เดือน ทิพย์ขุนทด ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชา แยกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้

งานตรวจสอบภายใน
1. นางธิดาพร ทองไวย์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

1) สำนักงานปลัด มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานทั่วไป, งานนโยบายและแผน, งานกฎหมายและคดี, งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, งานสังคมสงเคราะห์ มีเจ้าหน้าที่จำนวน 9 คน คือ

1. นายธวัชชัย รัตนธรรม หัวหน้าส่วนการคลังรักษาการหัวหน้าสำนักปลัด
2. นางรุ่งทิพย์ ปาสานัย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
3. นางสาววาสุณี ช่างปลูก นิติกร
4. นายรัตนโชติ วัฒนะ นักพัฒนาชุมชน
5. นางสาวประภัสสร ไชยโยธา เจ้าหน้าที่ธุรการ
6. นางสาวรจนา คำมะภา เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
7. นางน้ำอ้อย สุดกระโทก นักการภารโรง (พนักงานจ้าง)
8. นายสุเทพ รัตนอุไร พนักงานขับรถ (พนักงานจ้าง)
9. นายสมร ดันกระโทก ยาม (พนักงานจ้าง)

2) ส่วนการคลัง มีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับงานธุรการ, งานการเงิน, การบัญชี, งานจัดเก็บรายได้ , งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ มีเจ้าหน้าที่ จำนวน 7 คน คือ

1. นายธวัชชัย รัตนธรรม หัวหน้าส่วนการคลัง
2. นางประภาพรรณ ขวัญกระโทก เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
3. นางสาวนุชเนศวร์ วิเศษคร้อ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
4. นางรุ่งนภา มิ่มกระโทก เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
5. นางสาวอารีย์ แย้มสำเร็จ เจ้าหน้าที่พัสดุ
6. นางสาวภวดี ครั่งกระโทก ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี(พนักงานจ้าง)
7. นางมาลี แก่นกระโทก ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ (พนักงานจ้าง)

3) ส่วนโยธา มีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับงานวิศวกรรม, งานสถาปัตยกรรม, งานสาธารณูปโภค, งานผังเมือง, งานสวนสาธารณะ, งานบริหารทั่วไป จำนวน 4 คน คือ

1. นายวิษณุ ใคร่กระโทก หัวหน้าส่วนโยธา
2. นายจักรพันธ์ ดวงเลขา นายช่างโยธา
3. นางอรุณศรี เถาะกระโทก เจ้าหน้าที่ธุรการ
4. นายวิทูร โชกระโทก ผู้ช่วยช่างโยธา (พนักงานจ้าง)

4) ส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับงานแผนและวิชาการ, งานการศึกษาปฐมวัย (งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก), งานการศึกษานอกระบบและการส่งเสริมอาชีพ, งานกิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาวชน, งานประเพณี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม, งานบริหารทั่วไป จำนวน 4 คน คือ

1. นางเนาวรัตน์ ทิพย์ขุนทด นักวิชาการศึกษา รักษาการ หัวหน้าส่วนการศึกษาฯ
2. นางศรีนวล นารถสูงเนิน ผู้ดูแลเด็ก (พนักงานจ้าง)
3. นางสาวอรอนงค์ สุนทรรัตน์ ผู้ดูแลเด็ก (พนักงานจ้าง)
4. นางสาวหยาดพิรุณ ซวงกระโทก ผู้ดูแลเด็ก (พนักงานจ้าง)

5) ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่ งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข จำนวน 1 คน คือ
1. นางสาววาสุณี ช่างปลูก           นิติกร รักษาการ หัวหน้าส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

6) ส่วนส่งเสริมการเกษตร มีอำนาจหน้าที่ งานพัฒนาและส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตร, งานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ, งานส่งเสริมปศุสัตว์, งานส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาชุมชน จำนวน 3 คน คือ

1. นางรุ่งทิพย์ ปาสานัย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน รักษาการ หัวหน้าส่วนส่งเสริมการเกษตร
2. นายเลี่ยว เชือกกระโทก คนงานทั่วไป (พนักงานจ้าง)
3. นายชาตรี เชือกกระโทก คนงานเกษตร (พนักงานจ้าง)
   

1. ระดับการศึกษาของพนักงานส่วนตำบล
   พนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลตากฟ้า จบการศึกษาในระดับต่าง ๆ ดังนี้

  - ประถมศึกษา จำนวน 4 คน
  - อาชีวศึกษา / อนุปริญญา จำนวน 7 คน
  - ปริญญาตร จำนวน 15 คน
  - ปริญญาโท จำนวน 1 คน
     
1.2 บุคลากรที่เป็นผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
      - นายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้ง          จำนวน     1 คน
      - รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล                                  จำนวน     2 คน
      - สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้ง    จำนวน 30 คน
2. สถานะทางการคลัง

    ประจำปีงบประมาณ 2549 แยกเป็น
  - รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 763,412.86 บาท
  - รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ 7,902,422.83 บาท
  - เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 5,837,759.00 บาท
     
3. การรวมกลุ่มของประชาชน ดังนี้
  - กลุ่มอาชีพ 5 กลุ่ม
  - กลุ่มออมทรัพย์ 15 กลุ่ม
  - กลุ่มอื่น ๆ 4 กลุ่ม (อสม. กพสต.ศอช.)
     






 


องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งอรุณ
ตำบลทุ่งอรุณ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์ 044-756530 E-mail:admin@thungaroon.com
Copyright © 2011 All Rights Reserved. Powered by Allweb Technology